เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย


เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

โลกของเด็กเป็นโลกดนตรี  เด็กๆมักชอบทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ ในการร้องเพลง การสอดแทรกเพลงรวมไปในบทเรียนจะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจ  เกิดการเรียนรู้และส่งเสริมด้านภาษาของเด็กทำให้เด็กสนุกสนาน  เพลิดเพลิน

ความหมาย
การร้องเพลง  หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน  และเรียนเกี่ยวกับภาษา  เนื้อหา  จังหวะและดนตรีของเพลงที่ร้อง

วัตถุประสงค์
1.  เพื่อให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่เบื่อหน่าย
2.  เพื่อให้เด็กได้รับความรู้อย่างสนุกสนาน เพราะเป็นการเรียนแบบปนเล่น
3.  เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เด็กมีนิสัยอ่อนโยน
4.  เพื่อให้เด็กเกิดความคิดริเริ่มในการแสดงท่าทางประกอบ
5.  เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายในการเคลื่อนไหวร่างกายกับจังหวะเพลง
6.  เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมให้เด็กมีโอกาสปรับตัวเข้ากับผู้อื่น และร่วมงานกันได้ดี เกิดความสามัคคี
7. เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กวัยเรียน ซึ่งไม่เคยจะอยู่นิ่งมีความสนใจอยากรู้
อยากเห็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
8. เพื่อช่วยให้เด็กได้ทั้งความรู้ สนุกสนานเพลิดเพลิน ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก เสริมสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง

ลักษณะของเพลงเด็ก
เพลงที่จะนำมาร้องเพื่อให้เด็กหันมาสนใจแล้วร้องตามนั้น จะต้องมีเนื้อร้องสั้น ๆ และซ้ำ ๆ ใช้คำศัพท์ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เนื้อหาเป็นเรื่องที่เด็กสนใจ และเป็นสิ่งอยู่ใกล้ตัวเด็กจังหวะชัดเจน ทำนองเพลงง่าย ๆ เสียงไม่สูง หรือต่ำจนเกินไป และเป็นทำนองที่สนุกเหมาะกับวัยของเด็กสอดแทรกความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ และส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี และเป็นเพลงที่อาจทำท่าประกอบได้ครูอาจใช้เทคนิคช่วยโดยร้องด้วยเสียงค่อย ๆ เบาลง ในช่วงสุดท้ายของการร้องเพลง



เพลงสำหรับเด็กเริ่มเรียน
ในระยะแรกเริ่มเรียนควรมีเนื้อเพลงสั้นๆกระฉับและง่ายต่อการจดจำ   สาระของเนื้อเพลงต้องเหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก  คำที่ใช้ร้องควรเป็นคำศัพท์ที่เด็กเข้าใจ  ทำนองเพลงง่ายๆเสียงเพลงไม่สูงหรือต่ำ  มีจังหวะชัด  เด็กๆชอบเพลงที่มีความสนุกสนาน  เด็กเล็กๆร้องตามจังหวะเร็วไม่ได้ แต่โตขึ้นเด็กจะร้องจังหวะเร็วได้เอง

การนำเพลงไปจัดกิจกรรมให้กับเด็ก
ครูควรเลือกเนื้อเพลงง่ายๆ  มีเนื้อร้องสั้นๆ  ตรงกับความต้องการของครูว่าต้องการให้เด็กร้องเพลงเพื่ออะไร  เช่น  บางครั้งอาจใช้ร้องเพื่อเป็นเรียกความสนใจของเด็กก่อนเรียนรู้สิ่งอื่นๆ  ในลักษณะการนำเข้าสู่บทเรียน  (การเก็บเด็ก)  หรืออาจใช้ในการเรียนการสอน  การสรุปทบทวนความรู้จากบทเรียนนั้นๆ   ดังนั้น  วิธีการจัดกิจกรรมการร้องเพลงการร้องเพลงอาจให้เด็กฟังหรือร้องเพลงพร้อมครู  โดยไม่จำเป็นต้องจดจำเนื้อร้องให้ได้ก่อน  แต่อาจให้เด็กพูดเป็นคำคล้องจองตามเนื้อเพลงได้
ก่อนสอนเพลงครูควรนำภาพหรือของจริงที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเพลงมาให้เด็กดู  ครูร้องเพลงให้เด็กฟังก่อน 1 - 2   เที่ยวแล้วจึงให้เด็กว่าเนื้อเพลงที่ละวรรคตาม จากนั้นก็ให้เด็กร้องเพลงพร้อมครู และร้องเพลงพร้อมกัน การสอนเพลงให้กับเด็กนั้นมิได้มุ่งแต่จะร้องเพลงได้เพียงอย่างเดียว แต่ควรมีการเคาะจังหวะหรือแสดงท่าทางประกอบด้วย

เนื้อหาเพลงที่ใช้สอนเด็ก
เพลงที่ใช้สอนเด็กมีเนื้อร้องที่ให้ความรู้  และช่วยในการแสริมสร้างพัฒนาการทั้ง  4  ด้าน  ทั้งด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์-จิตใจ  ด้านสังคม  และด้านสติปัญญา  ให้แก่เด็กเพื่อพัฒนาตามวัย
1.  ด้านร่างกาย ในการสอนเด็กปฐมวัยต้องใช้ท่าทางประกอบ เนื่องจากเด็กชอบการเคลื่อนไหวไม่ชอบอยู่นิ่ง ในการร้องเพลงจึงควรทำท่าทางประกอบ เด็กจะได้ทำท่าทางตามครู หรือคิดขึ้นเองที่เข้ากับจังหวะและเนื้อเพลง
2.  ด้านอารมณ์-จิตใจ ขณะที่เด็กร้องเพลงหรือทำท่าทางประกอบเพลงนั้น เด็กจะแสดงอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส สนุกสนาน เพลิดเพลิน ดวงตาเป็นประกายอย่างมีความสุข เพลงจะช่วยให้เด็กคลายความเครียด มีอารมณ์สดชื่น
3.  ด้านสังคม  เมื่อเด็กมาโรงเรียนนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเด็ก  เพราะเด็กต้องจากบ้าน  จากพ่อจากแม่มาสู่โรงเรียนซึ่งเป็นสังคมใหม่  ประกอบไปด้วยสถานที่ใหม่  เพื่อนใหม่  ครู  หรือคนอื่นๆ  ที่ทำหน้าที่ในโรงเรียน  สิ่งที่จะช่วยให้เด็กคุ้นเคยและเข้ากับผู้อื่นได้  ด้วยการใช้เพลงเป็นสื่อ  ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้สนิทสนมใกล้ชิดกับเพื่อนและครู
4.  ด้านสติปัญญา เพลงช่วยให้เด็กมีความรู้และเข้าใจเรื่องต่างๆ ได้ดี ทั้งช่วยให้จำได้เร็วกว่าการบอกเล่า ฝึกให้รู้จักคิดและได้ความรู้เรื่องต่างๆ เช่น
     4.1 คณิตศาสตร์ เพลงช่วยให้เด็กมีความเข้าใจและจดจำเกี่ยวกับเรื่องจำนวน หรือความหมายทางคณิตศาสตร์ได้ดี และผู้สอนอาจจะสังเกตว่าเด็กเข้าใจความหมายของเนื้อเพลงได้เพียงใด จากการที่เด็กแสดงท่าทางประกอบเพลง
     4.2 วิทยาศาสตร์ เพลงเด็กมีหลากหลายเพลงที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบๆ ตัวเด็ก เช่น เกี่ยวกับสัตว์ พืช ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้น

การสอนท่าทางประกอบเพลง
                ศาสตราจารย์ อำไพ  สุจริตกุล ได้เสนอแนะบันได 5 ขั้น คือ

 











ทำไมจึงต้องให้เด็กได้ทำท่าทางประกอบเพลง
1. เพราะเด็กเป็นวัยที่ไม่อยู่นิ่งจึงต้องหากิจกรรมให้เด็กทำ
2. เพื่อสนองตอบต่อจินตนาการของเด็ก
3. เด็กได้ระบายอารมณ์ และผ่อนคลายความตรึงเครียด
4. เด็กได้แสดงออกทางกิริยาท่าทางมีความสุขในการเล่น
5. เด็กได้ฝึกสมาธิ และความจำ
6. ฝึกให้เด็กรู้จักกฎเกณฑ์ของกลุ่ม
7. เป็นการส่งเสริมความเจริญเติบโตของร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และความคิด
สร้างสรรค์





การทำท่าประกอบเพลง
ธรรมชาติของเด็กชอบการเคลื่อนไหว และชอบเสียงดนตรี การทำท่าทางประกอบเพลงจะ
เป็นการสนับสนุน พัฒนาการของเด็กมีผลต่อตัวเด็ก คือ
1. เด็กได้ออกกำลังกาย สนุกสนานผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์
2. เด็กเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. เด็กเกิดการเรียนรู้ และเข้าใจในจังหวะ
4. เด็กเกิดความจำสมาธิ และเกิดจินตนาการ
5. เด็กกล้าแสดงออก
6. เด็กเข้าใจคำสั่ง และสามารถปฏิบัติตามได้
7. เกิดความมีระเบียบวินัย
ถ้าจะทำกิจกรรมประกอบเพลง ครูจะต้องเข้าใจว่าต้องเลือกเพลงทีมีลักษณะของการแสดงกิริยาอาการ เช่น เพลงที่เกี่ยวกับม้าวิ่ง นกบิน ช้างเดิน ฯลฯ โดยครูเน้นการใช้การเคลื่อนไหวไปในบริเวณกว้างขวางขึ้น

การเล่นประกอบเพลง
                การเล่นประกอบเพลง หมายถึง การเล่นการเคลื่อนไหวทางร่างกายโดยใช้เพลงประกอบทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแข็งแรงเบิกบานเป็น 2 ชนิด คือ
1.             การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
ตัวอย่าง

ชื่อเพลง                ยูงรำแพนหาง
                เนื้อเพลง              ยูงรำแพนหาง                                      เอ่ย เอ่ย เอ่ย ยูงรำแพนหาง
                                                ผีเสื้อบินมาตามทาง (ซ้ำ)                  นกน้อยตัวงามส่ายเอวไปมา
                กิจกรรม                นักเรียนทำท่าเป็นนกยูงด้วยท่าทางต่าง ๆ เช่น รำ กางปีก ส่ายเอว วิ่งเหยาะ ๆ วิ่งโขยก โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 พวก พวกหนึ่งร้องเพลง อีกพวก หรือทำท่าเป็นนกยูงแพนหางสลับวัน หรือให้ทั้งชั้นร้อง และทำท่าพร้อมกันอย่างอิสระก็ได้ ครูควรจัดห้องให้มีที่ว่างมากพอ เพื่อให้นักเรียนเคลื่อนได้สะดวก
                การจัดกิจกรรมประเภทการแสดงท่าประกอบเพลงนั้น ครูไม่จำเป็นจะต้องให้เด็กทำ
พร้อม ๆ กันทุกคน อาจให้เด็กที่ยังไม่พร้อมที่จะแสดงนั่งอยู่โดยรอบพร้อมกับตบมือ และร้องเพลงเพื่อเป็นการให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม

2.             เกมการเล่นประกอบเพลง
ตัวอย่าง

ชื่อเพลง                เงาะหรือแงะ
                เนื้อเพลง              เงาะหรือแงะ                                        มันแปลกจริงแฮะว่าแงะหรือเงาะ
                                                กลมกลมแล้วมีขนด้วย (ซ้ำ)          โอ้แม่คนสวยนี่เงาะหรือแงะ
                กิจกรรม                นักเรียนใช้มือทำท่าเงาะกับแงะ  มือครูร้องคำว่าเงาะให้ทำมือเป็นดอกตูมๆ และเมื่อครูร้องคำว่า “แงะ” ให้ทำมือแบมือออก โดยให้นักเรียนตั้งใจฟังคำร้องว่าครูจะร้องออกมาว่าอะไร เป็นเกมที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้เด็กได้ใช้ทักษะในการฟังและปฏิบัติตามคำสั่งผ่านการเล่นเกมประกอบเพลง

การประเมินผล
1.  สังเกตความสนใจในการร่วมกิจกรรม
2.  สังเกตความกล้าแสดงออกของเด็ก
3.  สังเกตการณ์ร้องเพลงและการทำท่าทางประกอบ

1 ความคิดเห็น: